วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน้าหลัก



จัดทำโดย


นาย จิรายุทธ   ช่างเรือ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เลขที่ 29

เสนอ

อาจารย์  ศุภสัณห์  แก้วสำราญ

เว็ปนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสืบค้นข้อมูล

ทางอินเตอร์เน็ต

ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2557


โรงเรียนเมืองกระบี่

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำนำ

คำนำ

           รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  กลุ่มสาระการเรียนรู้ 

เทคโนโลยีสารสนเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นเนื้อเกี่ยวกับทางวิชาการในเรื่อง ประวัติความเป็นมา

ของศาสนาอิสลาม  รายงานเล่มนี้เน้นการสร้างความรู้และคำอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ

ศาสนาอิสลาม รายงานเล่มนี้จัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนภายในโรงเรียนตามความ

เหมาะสม
                  
           และหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการหาความรู้ไดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตาม

หลักการและจุดมุ่งหมาย ขอขอบคุณเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลในการทำรายงานเล่มนี้ให้สำเร็จลุล่วง

ด้วยดีไว้  โอกาสนี้



  นาย จิรายุทธ ช่างเรือ     

ม.6/2 เลขที่ 29          

ประวัติความเป็นมาของศาสนาอิสลาม

ประวัติศาสตร์อิสลามยุคนบีถึงคอลีฟะฮ์ทั้งสี่



อิสลาม” เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติตาม และการนอบน้อม เมื่อนำคำว่า อิสลาม มาเป็นชื่อของศาสนาจึงมีความหมายว่า เป็นศาสนาแห่งการยอมนอบน้อม จำนนต่อพระเจ้าคือ อัลลอฮ์อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายที่ถูกประทางลงมาจากชั้นฟ้าด้วยความพอพระทัยของอัลลอฮ์ที่จะมอบให้แก่มวลมนุษยชาติ พระองค์ทรงส่งท่านศาสดามุฮัมมัด บุตร อับดุลลอฮ์ มานำทางมนุษย์และญิน เพื่อให้ความเอกะแด่พระองค์ในการเป็นพระผู้อภิบาลและการเป็นพระเจ้า พร้อมทั้งยอมจำนนต่อ




พระประสงค์ของพระองค์ด้วยความพอใจและสมัครใจ ปฏิบัติตามคำบัญชาใช้ของพระองค์และออกห่างไกลจากคำสั่งห้ามของพระองค์ และพิพากษาความผิดตามที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ พร้อมทั้งยึดมั่นในจริยธรรมอันสูงส่งแห่งอิสลาม โดยการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลาม 5 ประการ และหลักศรัทธาอีก 6 ประการ เพื่อให้เกิดคุณธรรมในจิตสำนึกอันจะนำมาซึ่งการเกื้อกูลกันในสังคม อิสลาม เป็นศาสนาที่ถูกกำหนดมาจากพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกซึ่งมีพระนามว่า อัลลอฮ์ ดังนั้น อิสลามจึงเริ่มต้นตั้งแต่มีมนุษย์คนแรกในโลกนี้ คือ อาดัม และในทุกยุคทุกสมัยอัลลอฮ์ได้แต่งตั้งศาสนทูตของพระองค์ เพื่อทำหน้าที่สั่งสอนผู้คนให้รู้จักพระเจ้าที่แท้จริง และปฏิบัติตามข้อบัญญัติของพระองค์ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน บรรดาศาสนาก่อนหน้าศาสดามุฮัมมัดนั้นยังมิได้เรียกชื่อว่าเป็น ศาสนาอิสลาม จนกระทั่งถึงยุคของศาสดามุฮัมมัด ท่านได้เผยแพร่ข้อบัญญัติจากอัลลอฮ์โดยใช้ชื่อว่า อิสลาม หรือ ศาสนาอิสลาม ดังนั้นผู้คนทั้งหลายจึงมักเข้าใจว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อ 1,400 กว่าปีที่ผ่านมา

อิสลาม เป็นคำสอนที่อัลลอฮ์ได้กำหนดให้แก่มวลมนุษยชาติในโลกนี้ ไม่ใช่คำสอนที่ถูกกำหนดมาเพื่อเฉพาะกลุ่มชนชาวอาหรับเท่านั้น เพียงแต่ว่าศาสดามุฮัมมัด เป็นชาวอาหรับจึงเริ่มเผยแพร่จากถิ่นที่อยู่ของท่านและได้ขยายออกสู่ดินแดนต่างๆ ของโลก

บรรดาศาสนทูตในอดีตล้วนแต่ได้รับมอบหมายให้สอนศาสนาอิสลาม แก่มนุษย ชาติ ศาสนทูตท่านสุดท้ายคือมุฮัมมัด บุตรของอับดุลลอหฺ แห่งอารเบีย ได้รับ มอบหมายให้เผยแผ่ สาร์นของอัลลอหฺในช่วงปี ค.ศ. 610 - 632 เฉกเช่นบรรพ ศาสดาในอดีต โดยมี มะลักญิบรีล เป็นสื่อระหว่างอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้าและมุฮัมมัด พระโองการแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ทะยอยลงมา ในเวลา 23 ปีจันทรคติ ได้รับการรวบรวม ขึ้นเป็นเล่มมีชื่อว่า อัลกุรอาน ซึ่งเป็นธรรมนูญแห่งชีวิต มนุษย์ เพื่อที่จะได้ครองตน บนโลกนี้อย่างถูกต้องก่อนกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า

“มุสลิม” เป็นคำภาษาอาหรับเช่นกัน หมายถึง ผู้ที่นอบน้อมยอมจำนนต่อข้อบัญญัติของอัลลอฮ์นั่นก็หมายถึงผู้ที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม



 คอลีฟะห์ อบูบักร รอฏียัลลอฮํฮูอันฮู

 ท่านอบูบักรมีชื่อจริงว่า อับดุลลอฮฺ ท่านเป็นบุตรของ อบูกุฮาฟะฮฺ ท่านได้รับฉายานามว่า  “อัศศิดดิ๊ก” แปลว่า “ผู้ยืนยันถึงความจริง” สาเหตุที่ท่านได้รับฉายานามเช่นนี้ เนื่องจากว่า ท่านนบีมูฮำหมัด ได้เดินทางอิสรออฺจากมัสยิดหะรอมไปยังมัสยิดอักซอ ในยามค่ำคืนแล้วกลับมาในตอนใกล้รุ่งเช้า แล้วท่านได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้พวกกุเรชซึ่งเป็นกาฟิรฟัง พวกเขาไม่เชื่อ พวกเขาจึงเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ท่านอบูบักรฟัง แล้วถามว่าท่านเชื่อเหตุการณ์นี้หรือไม่ ท่านอบูบักรกล่าวว่า “เชื่อ”และเชื่อยิ่งกว่าเหตุการณ์นี้อีก เชื่อข่าวที่มูฮำหมัดนำมาจากฟากฟ้า ” ท่านจึงได้รับฉายานามว่า “อัศศิดดิ๊ก”

                 ท่านอบูบักรสืบเชื้อสายตระกูล ตะมีม เผ่ากุเรช ท่านเกิดในเมืองมักกะห์ หลังจากท่านนบีมูฮำหมัด 2 ปี ท่านเป็นเพื่อนร่วมอพยพของท่านนบีมูฮำหมัด จากเมืองมักกะห์ไปยังเมืองมะดีนะห์ และท่านเป็นที่ปรึกษาของท่านนบีในการบริหารกิจการของอาณาจักรอิสลาม ท่านได้เข้าร่วมทำสงครามกับท่านนบีทุกครั้ง และเป็นซอฮาบะห์เพียงไม่กี่คนที่ยืนหยัดต่อสู้  ในสงครามหุไนนฺ ขณะที่มีข่าวลือว่า ท่านนบีมูฮำหมัด  เสียชีวิตแล้ว ท่านได้สละทรัพย์สินจำนวนมากเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ และได้ซื้อทาสมุสลิม จำนวน 7 คน ปล่อยให้เป็นอิสระ ขณะที่พวกเขาถูกกุเรชทรมานอย่างแสนสาหัส เพื่อให้พวกเขาละทิ้งอิสลาม แล้วหันมาบูชารูปเจว็ดเช่นเดิม ในบรรดาทาสเหล่านี้ได้แก่ ท่านบิลาล  อิบนุรอบาหฺ มุอัซซินของท่านนบีมูฮำหมัด ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในบัญญัติศาสนา มีความละเอียดอ่อนในการใช้ความคิด

               ท่านอบูบักรได้รับการแต่งตั้งจากท่านนบีมูฮำหมัด ให้เป็นผู้นำบรรดามุสลิม เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปี  ฮ.ศ.9 และเป็นอิมามนำบรรดามุสลิมละหมาด ขณะที่ท่านนบีมูฮำหมัดป่วยหนัก

                            ระว่างที่บรรดามุสลิมทะสงครามยัรมูก ท่านอบูบักรได้ถึงแก่กรรมลง ท่านอุมัรอิบนุคอฏฏอบ ได้ดำรงตะแหน่งคอละฟะห์คนที่ 2 ท่านได้ส่งหนังสือไปแจ้งแก่ท่านคอลิด อิบนุวะลีด ซึ่งเป็นแม่ทัพของบรรดามุสลิม โดยปลดท่านออกจากตำแหน่ง  และหท่านอบูอุบัยดะห์ อิบนุ ญิรรอห์ ดำรงตำแหน่งแทน ท่านคอลิดได้ปกปิดข่าวนี้ไว้ โดยเกรงว่าจะเกิดความระส่ำระส่ายขึ้นภายในกองทัพ ท่านคอลิดได้นำกำลังทหารมุสลิมทำการสู้รบจนกระทั่งประสบชัยชนะ ท่านจึงได้ประกาศการถึงแก่กรรมของท่านอบูบักรและการดำรงตะแหน่งคอลีฟะห์ของท่านอุมัร และได้มอบตำแหน่งแม่ทัพให้แก่ท่าน อบูอุบัยดะห์ อิบนุญิรรอห์

              อบูบักรถึงแก่กรรมเดือนญามาดิ้ลอาคิร ฮ.ศ.13 ในเมืองมะดีนะห์ และถูกฝังอยู่เคียงข้างท่านนบีมูฮำหมัด โดยอายุได้ 63 ปี ดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ 2 ปี 3 เดือน

คอลีฟะห์อุมัร อิบนุ คอฏฏอบ (ฮ.ศ.13-23)



คอลีฟะห์อุมัร เป็นบุตรของอัลคอฏฏอบ บุตรของนุไฟอฺ มีฉายานามว่า อัลฟารุก ( ผู้จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ) มีชื่อเล่นว่า อบูฮัฟสฺ ท่านสืบเชื้อสายมาจาก ตระกูลตะดียฺ จากเผ่ากุเรช ท่านเกิดหลังจากท่านนบีมูฮำหมัด 13 ปี ท่านได้รับการเลี้ยงดูให้มีความกล้าหาญ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และพูดจริง

                             ท่านนบีมูฮำหมัด  ประกาศศาสนาอิสลาม ท่านอุมัรเป็นผู้หนึ่งที่ต่อต้านอย่างรุนแรง และได้ทำร้ายต่อบรรดามุสลิม จนกระทั่งอัลเลาะห์ทรงเปิดหัวใจของท่านให้นับถือศาสนาอิสลาม ท่านจึงกลายเป็นกำลังสำคัญ ในการปกป้องศาสนาอิสลาม และมุสลิมจากการทำร้ายของกาฟิร ลักษณะและอุปนิสัยของคอลีฟะห์อุมัร คอลีฟะห์อุมัรเป็นผู้ที่มีร่างกายสูงใหญ่ แข็งแรง มีผิวขาวปนแดง เสียงดังไม่ค่อยหัวเราะ อ้วนท้วม มีความเด็ดขาดและยุติธรรม มีสติปัญญาเฉียบแหลม รังเกียจความอธรรม ยืนหยัดในความจริง มีความบริสุทธิ์ในศาสนา การดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ เมื่อคอลีฟะห์อบูบักรป่วยลง ท่านได้เรียกบรรดาซอฮาบะห์ของท่านร่อซูล มาเพื่อปรึกษาหารือ ถึงผู้ที่จะดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์คนต่อไป ท่านได้เสนอให้ท่านอุมัรเป็นคอลีฟะห์เนื่องจากว่าท่านอุมัร เป็นผู้ที่มีความเด็ดขาด มีความยุติธรรม ยืนหยัดอยู่กับความจริง และกลัวว่าจะเกิดความแตกแยกระหว่างมุสลิม บรรดาซอฮาบะห์ของท่านนบีมูฮำหมัด เห็นชอบด้วยที่จะให้ท่านอุมัรเป็นคอลีฟะห์สืบต่อจากท่านอบูบักร

 คอลีฟะห์อุสมาน


  ท่านอุสมานเป็นบุตรของอัฟฟาน บุตรของอัลอาศ ท่านมีชื่อเล่นว่า อบูอัมรฺ และมีฉายานามว่า ซุนนูรอยนฺ เนื่องจากว่าท่านได้แต่งงานกับลูกสาวของท่านนบีมูฮำหมัด 2 คน คนแรกคือ นางรุกอยยะห์ เมื่อนางรุกอยยะห์ถึงแก่กรรม ท่านได้แต่งงานกับอุมมุกัลโซม  ท่านสืบเชื้อสายมาจากตระกูลอุมัยยะห์ จากเผ่ากุเรช ท่านเกิดหลังจากท่านรอซูล 5 หรือ 6 ปี


            ท่านอุสมานเป็นบุคคลแรกๆที่เข้านับถือศาสนาอิสลาม ท่านเป็นอาลักษณ์คนหนึ่งของท่านนบีมูฮำหมัด และได้ร่วมทำสงครามกับท่านรอซูล ทุกครั้ง นอกจากสงครามบัดรฺ เนื่องจากท่านต้องดูแลภรรยาท่านที่เจ็บป่วย

            คอลีฟะห์อุสมานมีความอ่อนโยน เป็นที่รักใคร่ในหมู่ชาวกุเรช โดยเหตุนี้ ท่านรอซูล จึงส่งให้ท่านเป็นทูตเพื่อเจรจากับพวกชาวกุเรช และมีการทำสัญญาซึ่งเรียกว่า “สัญญาฮุดัยบียะห์” ท่านเป็นผู้ที่ใจบุญ โดยบริจาคทรัพย์สินจำนวนมากในหนทางของอัลเลาะห์ เกี่ยวกับความใจบุญของท่านนั้น ท่านได้บริจาคทรัพย์สินของท่านทั้งหมด ในการเตรียมกองทัพ เพื่อรบกับพวกฆอซาซีนะห์ ซึ่งกองทัพนี้มีชื่อว่า “กองทัพขาดแคลน” ในสมัยคอลีฟะห์อุมัร ได้เกิดความแห้งแล้งและขาดแคลนอาหาร ท่านได้บริจาคสินค้าและอาหารในกองคาราวานของท่านทั้งหมด ให้แก่ผู้ยากจนในเมืองมะดีนะห์

 ก่อนที่คอลีฟะห์อุมัรจะถึงแก่กรรม บรรดามุสลิมได้ขอให้ท่านคัดเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์สืบต่อจากท่าน คอลีฟะห์อุมัรจึงได้เสนอชื่อซอฮาบะห์อาวุโสของท่านนบีมูฮำหมัด 6 คน ให้พวกเขาปรึกษาหารือกัน เพื่อคัดเลือกคนหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ บุคคลทั้งหกได้แก่ ท่านอาลี อิบนุอบีฏอลิบ  ท่านอุสมาน อิบนุอัฟฟาน  ท่านซะอัด อิบนุอบีวักก้อส  ท่านอัลดุลเราะห์มาน อิบนุอุบัยดิลลาห์ ในที่สุดก็ได้มีการคัดเลือกให้ท่านอุสมานดำรงตำแหน่องคอลีฟะห์

 คอลีฟะห์ อาลี

 คอลีฟะห์อาลี เป็นบุตรของท่านอบูฏอลิบ ซึ่งเป็นลุงของท่านนบีมูฮำหมัด  ท่านมีฉายานามว่า อบูตุร้อย ท่านเกิดภายหลังท่านนบีมูฮำหมัด เป็นเวลา 32 ปี ท่านนบีมูฮำหมัด ได้เลี้ยงดูท่านอาลีตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นนบี ท่านอาลีเป็นเด็กคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม ขณะนั้นท่านมีอายุไม่ถึง 13 ปี ท่านเป็นผู้ที่นอนแทนท่านนบีมูฮำหมัด ในค่ำคืนที่ท่านนบีอพยพ ท่านได้เข้าร่วมทำสงครามกับท่านนบีมูฮำหมัดทุกครั้ง นอกจากสงครามตะบู้ก


             ท่านอาลีมีรูปร่างค่อนข้างเตี้ย อ้วน ผิวดำแดง มีเคราขาว ตาโต มีความกล้าหาญ ฉลาดรอบรู้ พูดจาฉะฉาน ท่านแต่งงานกับท่านหญิงฟาติมะห์ บุตรสาวของท่านนบีมูฮำหมัด

 เมื่อคอลีฟะห์อุสมานถูกสังหาร บรรดามุสลิมต่างมีความเห็นแตกต่างกัน เกี่ยวกับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์หลังจากนี้ แต่ส่วนมากได้ให้สัตยาบันแก่ท่านอาลี เป็นคอลีฟะห์ โดยเป็นผู้อาศัยอยู่ในแคว้นหิญ้าซ ประเทศอิรัก อียิปต์ และคูรอซาน แต่ซ่อฮาบะห์ของท่านนบีมูฮำหมัด และผู้ที่อยูในตระกูลอุมัยยะห์ไม่ยอมให้สัตยาบันแก่ท่านอาลี ที่สำคัญได้แก่ ท่านฏอลฮะห์ อิบนุอุบัยดิลลาห์  ท่านสุเบร อิบนุเอาวาม  ท่านมุอาวียะห์ อิบนิอบีซุฟยาน มุสลิมในประเทศชาม และท่านอัมรฺ อิบนุอาศ



 คอลีฟะห์อาลีเริ่มงานของท่านด้วยการสอบสวนหาผู้ที่ฆ่าคอลีฟะห์อุสมาน  แต่ก็ไม่สามารถจับกุมผู้ที่ฆ่าคอลีฟะห์อุสมาน หลังจากนั้นท่านได้ถอดผู้ปกครองหัวเมืองบางคนที่คอลีฟะห์อุสมานแต่งตั้งออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการร้องเรียนของประชาชน ในพฤติกรรมของพวกเขา ในจำนวนนี้ยังมีท่านมุอาวียะห์ อิบนิอบีซุฟยาน รวมอยู่ด้วย โดยเหตุนี้จึงทำให้บางคนไม่พอใจต่อการกระทำของท่าน ขณะเดียวกันผู้ที่อยู่ในตระกูลอุมัยยะห์ ก็กล่าวหาว่าท่านละเลย ไม่จัดการหาฆาตกรผู้ฆ่าคอลีฟะห์อุสมานมาลงโทษ และได้เรียกร้องให้ล้างแค้นให้แก่คอลีฟะห์อุสมาน ซึ่งทำให้ชาวชามและมุสลิมบางคนคล้อยตามคำเรียกร้องของพวกเขา ขณะเดียวกันคอลีฟะห์อาลี ก็ได้ย้ายที่ทำการจากเมืองมะดีนะฮ์ไปอยู่ ณ เมืองกูฟะห์ ประเทศอิรัก

 ขณะเกิดความยุ่งเหยิงในหมู่มุสลิม พวกค่อวาริจ 3 คนคือ อิบนุลมุลญิม อัลบิกรฺ อิบนุอับดิลลาห์ และอัมรฺ อิบนุบักร ได้ตกลงกันที่จะสังหารบุคคล 3 คนคือ ท่านอาลี อิบนุอบีฏอลิบ  ท่านมุอาวียะห์ อิบนุอบีซุฟยาน และท่านอัมรฺ อิบนุลด้าศ แต่อับดุลเราะห์มาน อิบนุลมุลญิม เพียงคนเดียวที่ปฏิบัติตามแผนการได้สำเร็จ โดยฆ่าท่านอาลี ขณะที่ท่านกำลังเดินทางออกจากที่พัก เพื่อไปละหมาดซุบฮิ โดยใช้ดาบอาบยาพิษฟันที่หน้าผากของท่าน จึงทำให้ท่านได้รับบาดเจ็บ หลังจากนั้นอีก2วัน ท่านก็เสียชีวิต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 40 โดยที่ท่านมีอายุ 63 ปี และดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์เป็นเวลา 5 ปี

ข้อมูลของท่านศาสดา หรือนบีของชาวศาสนาอิสลาม


ศาสดาหรือที่เรียกกันว่า ( นบี ) นั้น อัลลอฮ์หรือพระเจ้าที่ศาสนาอิสลามนับถือกันนั้น

ได้ประทานนบีแก่ประชาชนทุกชนชาติ จึงมีนบีอยู่มากมาย นบีมุฮัมมัดกล่าวว่านบีมีอยู่ถึง 124,000 องค์

โดยนบีมุฮัมมัดเป็นนบีคนสุดท้าย คัมภีร์อัลกุรอานระบุชื่อของนบีที่สำคัญไว้ 25 ท่าน

1. นบีอาดัม

2. นบีอิดริส

3. นบีนุฮ์

4. นบีฮูด

5. นบีศอและฮ์

6. นบีอิบรอฮีม

7. นบีอิสมาอีล

8. นบีลูฏ

9. นบีอิสฮัก

10. นบียะโกบ

11.นบียุโสบ

12.นบีอัยโยบ

13.นบีซุอีบ

14.นบีมูซา

15.นบีฮารูน

16.นบีซุลกิบลี่

17.นบีดาวูด

18.นบีสุไลมาน

19.นบีอิลยาส

20.นบีอัลยาชะอ์

21.นบียูนุส

22.นบีซะการียา

23.นบียะฮ์ยา 

24.นบีอีซา 


25.นบีมูฮัมมัด


ข้อมูลรายชื่อและหน้าที่ของมาลาอีกะฮ์

มาลาอีกะฮ์

                มลาอิกะห์ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของพระเจ้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล  

เท่าที่มีระบุชื่อและหน้าที่เฉพาะก็มีอยู่ 10 มาลาอิกะฮ์ คือ
   
             1. ยิบรออีล    ทำหน้าที่สื่อโองการพระเจ้ากับศาสดา
   
             2. มีกาฮีล     ทำหน้าที่นำโชคลาภจากพระเจ้าสู่โลก
   
             3. อิมรอพีล    ทำหน้าที่เป่าสังข์ในวันสิ้นโลก
   
             4. อิสรออีล    ทำหน้าที่ถอดวิญญาณของมนุษย์และสัตว์
   
             5. รอกีบ      ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
   
             6. อะติด      ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
   
             7. มุงกัร       ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
   
             8. นะกีร       ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
   
             9. ริดวาน      ทำหน้าที่ดูแลกิจการของสวรรค์
   
             10.มาลิก       ทำหน้าที่ดูแลกิจการของขุมนรก

การบริจากทานหรือบริจากซะกาต

การบริจาคซะกาต

ซะกาต เป็นคำที่มา จากภาษาอาหรับว่า "ซะกาฮฺ" แปลว่า การทำให้บริสุทธิ์ ทำให้หมดมลทิน หรือการเกลากิเลสตัณหา และหมายถึงการจำเริญงอกงาม การเพิ่มทวี

ในอิสลาม ถือว่าการบริจาคทานเป็นหลักปฏิบัติรองลงมาจากการละหมาด คำว่า "ทาน" ตามทัศนะของอิสลามมีความหมายกว้าง รวมทั้งการให้ทรัพย์สมบัติ สติปัญญา กำลัง กาย เพื่อความดีงามและประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือแก่ส่วนรวมด้วย

การบริจาคทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ทานอาสา และทานบังคับ ในที่นี้จะกล่าวถึงทานซึ่งใช้บังคับแก่มุสลิมทุก ๆ คน

ความมุ่งหมายของซะกาต ก็เพื่อให้ทรัพย์สินที่หามาได้และที่มีอยู่ (ในทางสุจริต) เป็นทรัพย์ที่บริสุทธิ์ตามหลักการของอิสลาม และเป็นการขัดเกลาจิตใจของผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์ ลดความตระหนี่ ขี้เหนียว เห็นแก่ตัว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นการเตือนการสอนให้มนุษย์ไมาตกเป็นทาสของวัตถุ ไม่เกิดความละโมบ และให้มนุษย์มีความตระหนักว่า บรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เขาได้มานั้นเป็นของฝากจากอัลเลาะห์ มนุษย์เป็นเพียงผู้รักษาและใช้จ่ายไปในทางที่อัลเลาะห์ทรงกำหนด เช่น ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และจะต้องจ่ายส่วนหนึ่งให้แก่ผู้ที่ยากจน เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม ซึ่งเป็นการสร้างเสริมหลักประกันของสังคมให้มั่งคงขึ้น

"ดังนั้นผู้มีฐานะทางเศรษกิจดีเท่าใด ก็ต้องจ่ายแก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตมากเท่านั้น"

### ผู้ที่ต้องบริจาคซะกาต ### คือ ผู้ที่มีทรัพย์สินครบรอบปีและเกินจำนวนที่กำหนดไว้

สิ่งที่จะต้องบริจาคเป็นซะกาต ได้แก่

  1. ทองคำ เงินแท่ง และเงินตรา
  2. รายได้จากปศุสัตว์
  3. รายได้จากพืชผล
  4. รายได้จากธุรกิจการค้า
  5. ขุมทรัพย์ 

* หลักการอิสลามได้กำหนดจำนวนที่แน่นอนว่าสิ่งดังกล่าวนั้นจะต้องมีเกินจำนวน เท่าใด จึงจะต้องบริจาคเป็นซะกาต และแต่ละชนิดนั้นจะต้องบริจาคเป็นจำนวนเท่าใด

เช่น เงินตราที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากเก็บสะสมไว้เกินราคาของทองคำหนัก 85 กรัม หรือ 5.67 บาท จะต้องบริจาคเท่าอัตราของเงินและทองคำ คือเท่ากับ 2.5 %

แต่เฉพาะเงินตราที่ ตั้งจำนวนกำหนดที่จะต้องออกซะกาตไม่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาทองคำในปีนั้น ๆ ซึ่งนับว่าเป็นความยุติธรรม เพราะภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ตัวบ่งชี้อย่างดีคือราคาทองคำนั่นเอง หลักการอิสลามที่วางไว้ตั้งแต่เมื่อ 1400 กว่าปี ที่ผ่านมาจึงยังคงไม่ล้าสมัย และยังคงเป็นหลักการที่ยืนหยัดต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สืบต่อไป

ตัวอย่างการบริจาคซะกาตเงินตรา

สมมุติว่าปีนี้ทองคำมีราคา 6,000 บาทต่อน้ำหนักทองคำหนึ่งบาท ผู้ที่มีเงินตราเก็บไว้ครบรอบปีและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ คือเกินกว่าราคาทองคำหนัก 85 กรัม หรือ 5.67 บาท ต้องบริจาค 2.5% ของจำนวนเงินตราที่มีอยู่ คือ

6,000 x 5.67 = 34,020 บาท
ต้องบริจาค 2.5% = 850.50 บาท

ฉะนั้น ผู้ที่มีเงินตราสะสมไว้ครบรอบปีในปีนี้เกินกว่า 34,020 บาท ก็จะต้องบริจาค 2.5% ของจำนวนเงินตราที่มีอยู่

บุคคลที่พระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ) ได้กำหนดไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ให้เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับซะกาต มี 8 ประเภท คือ

  1. คนอนาถา (ฟะกีร) ได้แก่บุคคลไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ เนื่องจากขาดสมรรถภาพบางประการในร่างกาย จำเป็นต้องได้รับการอนุเคราะห์
  2. คนขัดสน (มีสกีน) ได้แก่ผู้ที่มีความสามารถจะเลี้ยงชีพได้แต่ขาดแคลน เนื่องจากความยากจน เช่น แม่หม้ายที่สามีตายต้องเลี้ยงลูกกำพร้าตามลำพังโดยที่ไม่มีทรัพย์สมบัติ
  3. ผู้รวบรวมและจ่ายซะกาต ได้แก่เจ้าหน้าที่ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นให้รวบรวมเก็บซะกาตไปแจกจ่ายแก่บุคคล หรือองค์การที่พึงได้รับ ซึ่งแสดงว่าการรวบรวมและการแบ่งทรัพย์นี้ต้องอาศัยองค์การกลาง ซึ่งเรียกว่า บัยตุลมาล คือคลังเก็บสิ่งที่ได้จากการรับซะกาต (คลังซะกาต)
  4. ผู้ที่ควรแก่การปลอบใจ ได้แก่ผู้ที่จะมาหรือได้รับนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อเข้ามาใหม่ ๆ ก็อาจจะอัตคัตขาดแคลนด้วยถูกตัดญาติจากพ่อแม่พี่น้อง จึงสมควรได้รับการอุปการะ หากเป็นผู้มั่งคั่งก็ไม่ต้อง
  5. เชลยหรือทาส ซึ่งไม่สามารถไถ่ตนเองได้ แสดงถึงการที่อิสลามช่วยในการเลิกทาส
  6. ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบสัมมาอาชีวะ แต่หารเป็นหนี้จากการเสียพนัน การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ฯลฯ ไม่จัดอยู่ในประเด็นที่จะนำซะกาตไปไถ่ถอน
  7. ผู้เดินทาง ที่มีความจำเป็นต้องรับการช่วยเหลือ เช่น ขาดปัจจัยในการเดินทางกลับมาตุภูมิของตน
  8. การบริจาคในแนวทางของอัลเลาะห์ (พี สบีลิลลาฮ์) ในประเด็นนี้กว้างมาก นั่นคือในกิจการกุศลทั่วไป เช่น นำไปสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สาธารณสถานต่าง ๆ ปกป้องประเทศขจัดความไม่รู้หนังสือ ฯลฯ

ควบคู่กับการบริจาคทานนี้ อิสลามห้ามอย่างเด็จขาดในเรื่อง"ดอกเบี้ย" เพราะการบริจาคทานเป็นการสงสารมนุษย์เท่าใด ดอกเบี้ยก็เป็นการกำจัดการสงสารมากขึ้นเท่านั้น

ซะกาตฟิตเราะห์

ซะกาตฟิตเราะห์เป็นทานบังคับอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับแก่มุสลิมทุก ๆ คน มุสลิมทุกคนต้องบริจาคในวาระสุดท้ายของการการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ดังพระวจนะของท่านศาสดามุฮำหมัด (ซ.ล.) ความว่า

"ซะกาตฟิตเราะห์ ทำความสะอาดแก่ผู้ถือศีลอด จากความสูญเปล่าและความหยาบคาย และเป็นการเลี้ยงดูแก่บรรดาคนขัดสน ดังนั้น บุคคลใดชำระมันก่อนละหมาด นั้นเป็นซะกาตที่ถูกรับรอง และผู้ชำระมันหลังจากละหมาด มันก็เป็นเพียงทำทานครั้งหนึ่งจากบรรดาทานทั้งหลาย"

ฉะนั้น "ฟิตเราะห์" ถือเป็นซะกาตส่วนบุคคล หมายความว่า เป็นทานที่มุสลิมทุกคนที่เกิดมาก่อนเวลาการละหมาดเนื่องในวันอีดิ้ลฟิตรี (วันรายอปอซอ) หรือมีชีวิตถึงจะต้องบริจาค จึงเป็นซะกาตที่ไม่จำกัด วัย เพศ ฐานะ หรือรายได้เช่นซะกาตประจำปี จำกัดเพียงครอบครัวนั้นต้องมีรายได้ที่จะซื้ออาหารรับประทานในวันนั้นและมี พอที่จะบริจาคได้ แต่หากครอบครัวใดไม่อยู่ในภาวะที่จะบริจาคได้ อิสลามก็อนุมัติให้ไม่ต้องบริจาคซะกาตฟิตเราะห์ หากแต่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้รับบริจาคซะกาตนี้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเพื่อนบ้านและผู้นำศาสนาประจำหมู่บ้านที่พึงสอดส่อง เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเหล่านี้

จึงเป็นหน้าที่ของหัวหน้าครอบครัวที่มีพอที่จะบริจาคจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ ให้แก่ทุกคนที่อยู่ในความรับผิดชอบ สำหรับระยะเวลาของการบริจาคนั้นจะ ต้องบริจาคก่อนถึงวันอีด (อีดิ้ลฟิตรี) แต่ต้องเป็นช่วงเช้าตรู่ก่อนที่จะมีการละหมาดเนื่องในวันอีดนั้น

สิ่งของที่ใช้ในการบริจาค มักใช้สิ่งที่ใช้บริโภคเป็นอาหารหลักของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ข้าวสาร ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวบาเล่ย์ ฯลฯ โดยใช้อัตราประมาณ 2.75 ลิตรต่อ 1 คน แต่อาจใช้เงิน โดยคิดตามราคาข้าวจำนวนดังกล่าวก็ได้

บุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับซะกาตฟิตเราะห์ คือ บุคคลและกิจการทั้ง 8 ประเภท เช่นเดียวกับซะกาตประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจนขัดสน 2 ประเภทแรก สมควรได้รับการพิจารณาก่อน

ซะดะเก๊าะห์ หมายถึง การบริจาคทาน ซึ่งเป็นทานบริจาคตามสมัครใจ(ทานอาสา) มิได้บังคับหรือมีกฎเกณฑ์เหมือนดั่งการบริจาคซะกาต

การถือศิลอด

การถือศีลอด
        การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ
การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส
ระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ .ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน มีปรากฏว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้น ได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าดั่งที่ได้ถูกกำหนด แก่เขาเหล่านั้น ก่อนหน้าสู เจ้ามาแล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว” จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้น ได้เคยมีมาแล้วใน ประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์โบราณนิยมถือศีลอด กันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลาย ไปยัง ชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีก ยังได้นำการถือศีลอดนี้ ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยม การถือศีลอด ตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซาศาสดาของ ชาวยิวได้ถือศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดยกษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำ โดยชาวโรมันใน ค.ศ.70 การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆ กัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหารหนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สำหรับอิสลาม การถือศีลอด หมายถึง การอดอาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้าในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ ถูกกำหนดบังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติ ใน เดือน ซะอบาน (เดือนที่ 8) หลังจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) อพยพจาก มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่า ทุกวันนี้ การถือศีลอดเป็นการทดลอง และฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการ ขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจ ใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม

กฏเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ
 1. ผู้ถือศีลอด มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ คือมีอายุ 15 ปี และหญิงที่เริ่มมีประจำเดือนทุกคนต้องถือศีลอด      ถ้าจะแบ่งประเภทของผู้ถือศีลอดโดยทั่วไป พอจะแบ่งได้ดังนี้
          -  ผู้ต้องถือ ได้แก่ผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในระหว่างการเดินทาง
          -  ผู้ได้รับการผ่อนผัน เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าอันได้แก่ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะไม่สามารถ ถือศีลอดได้หรืออยู่ในระหว่าง เดินทาง แต่เมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้นหมดไป คือ หายป่วย หรือกลับจากเดินทางแล้ว ก็ต้องถือใช้ให้ครบตาม จำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือชดใช้ในวันใด เดือนไหน ในรอบปีนั้นก็ได้
          -  ผู้ได้รับการยกเว้น คือ
             1. คนชรา
             2. คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หาย
             3. หญิงมีครรภ์แก่และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมทารก ซึ่งเกรงว่าการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายแก่ทารก
             4. บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอดจะเป็นภัยต่อสุขภาพเสมอ
             5. บุคคล ที่ทำงานหนัก เช่น ในเหมืองหรืองานอื่นๆ 
         ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและศรัทธาของเขาเองว่าจะสามารถถือศีลอดได้หรือไม่ โดยไม่ต้องลวงตัวเอง บุคคลทั้ง 5 ประเภทนี้ ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องถือเลย แต่ต้องชดใช้ด้วยการจ่าย ซะกาต (อาหาร) เป็นทานแก่คนยากจน ด้วยอาหารที่มีคุณภาพตามที่ตนใช้บริโภคตลอดทั้งเดือน หรือจะจ่ายเป็นค่าอาหาร แทนวันต่อวัน โดยการบริจาคทานให้ต่างบุคคลก็ได้ "อัลลอฮฺ ทรงยกเว้นการถือศีลอด และนมาซส่านหนึ่ง ให้แก่ผู้เดินทาง และยกเว้นการถือศีลอดสำหรับหญิงมีครรภ์แก่ และที่ให้นมทารก" (อัส-สุนัน ของ อิมามอะหมัด)
2. กำหนดเวลาการถือศีลอด ข้อนี้มีปรากฏอย่างชัดเจนในอัลกุรอาน"
จงกินและจงดื่มจนกระทั่งความขาว ของกลางวันกระจ่างจากความดำของกลางคืนในรุ่งสาง แล้วจงถือศีลอดจนกระทั่ง พลบค่ำ" กล่าว คือ ให้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันลับฟ้าในช่วง ดังกล่าว นี้ห้ามการกินการดื่มทุกประเภท ห้ามร่วมสังฆวาส แต่นอกเหนือเวลาดังกล่าวนี้ ก็ไม่เป็นที่ห้าม
ดังนั้นจงถือศีลอด และจงแก้การถือศีลอด และจงตื่นและจงนอนและจงถือศีลอด (อาสา) เดือนหนึ่งเพียง 3 วัน เพราะกุศลกรรมนี้ ได้รับการตอบแทน 10 เท่าและนี่ก็เสมือนการถือศีลอดทุกๆ วัน ฉันกล่าวว่า ฉันทนได้มากกว่านี้ ท่านกล่าว ถ้าเช่นนั้น จงถือศีลอดวันหนึ่งและจงอย่าถือศีลอดในอีกวันหนึ่ง (วันเว้นวัน) นี่เป็นการถือศีลอดของนบีดาวูด (อ.ล.) และนี่เป็นการถือศีลอดโดยอาสาที่ดียิ่ง ฉันกล่าวว่า ฉันสามารถทนได้มากกว่านั้น ท่านกล่าวว่า ไม่มีอะไรจะดีกว่านี้อีกแล้ว" (อัลบุคอรี 30:56) จากรายงานนี้ แสดว่าท่านศาสดาสนับสนุนให้ถือศีลอดโดยอาสา เพียงเดือนละ 3 วันเท่านั้น มิให้ถือศีลอดทุกๆ วันตลอดไป และมีรายงานอื่นว่าท่านแนะนำให้ถือศีลอดดังนี้
1. ถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเซาวาลต่อจากการถือศีลอดภาคบังคับในเดือนรอมฎอน
2. วันขึ้น 9-10 ค่ำเดือนมุหัรรอม
3. ถือได้หลายๆ วันในเดือนซะอบาน
4. วันจันทร์ วันพฤหัสบดี ทุกสัปดาห์
5. วันขึ้น 13-14-15 ค่ำของทุกเดือน
6. วันเว้นวัน 
วันห้ามถือศีลอด
1. วันอีดทั้ง 2 คือ วันอีดิ้ลฟิตรและอีดิ้ลอัฎฮา
2. วันตัซรีก คือวันที่ 11-12-13 เดือนฮัจย์
3. การเจาะจงถือเฉพาะวันศุกร์เท่านั้น
4. ถือตลอดปี
5. วัน ครบรอบการถือศีลอดภาคบังคับ (อีดิ้ลฟิตร) เมื่อวันแห่งการถือศีลอดได้สิ้นสุดแล้ว รุ่งขึ้นคือวันที่ 1 เดือนเซาวาล เป็นวัน "อีด" ห้ามถือศีลอด ในวันนี้ เพราะเป็นวันแห่งการรื่นเริง ให้ทุกคนทั้งหญิงและเด็กๆ อาบน้ำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ แล้วไปชุมนุมกัน ณ ที่ที่กำหนดไว้โดยพร้อมเพรียงกัน มุสลิมที่อยู่ในฐานะเหลือกินเหลือใช้ ให้บริจาคทานฟิฏเราะฮ์ ด้วยอาหารพื้นเมืองที่ผู้บริจาคอาศัยอยู่ เช่น ข้าวสาร เป็นจำนวน 1 ศออ์ แก่คนยากจน
กฏเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ
3. สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด
        1. กิน ดื่ม สูบ เสพ หรือนัดถ์ โดยเจตนา
        2. การร่วมประเวณี ในระยะเวลาที่ถือศีลอด
        3. มีประจำเดือน
        4. คลอดบุตร
        5. เจตนาทำให้อสุจิเคลื่อนด้วยวิธีใดๆ
4. ประเภทของศีลอด
        1. ศีลอดภาคบังคับ คือ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) เป็นเวลาประมาณ 29 หรือ 30 วันโดยกำหนดวันแรกและวันสุดท้ายด้วยการปรากฏของดวงจันทร์ เสี้ยวข้างขึ้น ( Newmoon) เป็นหลักการ ถือศีลอดประเภทนี้เป็นบทบังคับแก่มุสลิมทุกคนที่ บรรลุศาสนภาวะแล้ว ทั้งนี้ นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับการยกเว้นผ่อนผันดังกล่าวข้างต้น ซึ่งบุคคลประเภทนี้จะต้องถือศีลอดชดใช้ในภายหลัง เมื่อพ้นภาระจำเป็นนั้นแล้วเท่าจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือใช้ให้ครบจนกระทั่งผ่านรอบปี จะต้องเสียทั้งค่าปรับและถือใช้ด้วยเสียค่าปรับด้วย การให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งวันต่อหนึ่ง คน เช่นถ้าขาด 10 วัน ต้องเลี้ยง 10 คน ในกรณีที่ ผู้ใดเจตนาฝ่าฝืนทำให้เสียศีลอดด้วยการร่วมประเวณี ในเวลาที่กำลังถือศีลอดจะต้องชดใช้ ปรับโทษดังนี้ ปล่อยทาสเป็นเชลย 1 คน ถ้าไม่มีให้ถือศีลอด 2 เดือน ติดต่อกัน ถ้าขาดแม้เพียงวันเดียวต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ ถ้าทำไม่ได้ ้ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน 60 คน อาหารที่จะให้ต้องมีคุณภาพไม่เลว หรือดีกว่า ที่ตนใช้บริโภคประจำวัน
        2. การถือศีลอดชดเชย นอกเหนือจากการถือศีลอดใช้ตามที่ได้กล่าว แล้วนั้นยังมีการถือศีลอดชดเชย อีกประเภทหนึ่งต่อกิจ หนึ่งกิจใดซึ่งผู้นั้นไม่สามารถกระทำได้ในเวลานั้นๆ เช่นในกรณีที่ ผู้หนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามวินัยต่างๆ ของเอียะห์รามให้ครบถ้วนเมื่อเวลาประกอบพิธีฮัจญ์ได้ ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดชดเชย 3 วัน ทั้งนี้ในเงื่อนไขที่ผู้นั้นไม่สามารถบริจาคทา หรือพลีกรรมสัตว์ ได้ตามกำหนด
         3. การถือศีลอดเพื่อลบล้างความผิด ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน มีดังนี้ เมื่อมุสลิมได้ฆ่ามุสลิมอีกคนหนึ่ง โดยเข้าใจผิดให้ปล่อยทาสเป็นอิสระ 1 คน แต่ถ้าไม่สามารถจะไถ่ความผิดโดยการปล่อยทาสได้ก็ให้ ถือศีลอดแทนเป็นเวลา 2 เดือนติดๆ กัน และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยพลั้งผิด 


กฏเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ
ดังนั้น ผู้ฆ่าต้องให้มีการปล่อย ทาสหรือทาสผู้ศรัทธาคนหนึ่งเป็นไท และต้องจ่าย ค่าทำขวัญ แก่ครอบครัวของเขา (ผู้ตาย) เว้นแต่ที่ พวกเขายกเป็นทาน ไม่เอาความแล้วถ้าผู้ตายหาไม่พบ คือไม่มีทาสหรือไม่มีเงินซื้อ เช่น ในสมัยนี้ หรือไม่มีเงินจ่ายค่าทำขวัญ เขาต้องถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ตามวินัยในเดือนรอมฎอน "(อัลกุรอาน 2:92) ถือศีลอดลบล้างการหย่าแบบซิฮาร เป็นเวลา 2 เดือน การซิฮารนี้เป็นประเพณีเดิม ของชาวอาหรับ ในสมัยก่อน และเมื่อเริ่มต้นเผยแพร่ศาสนาอิสลาม โดยเรียกภรรยาของตนว่า เป็นเสมือนมารดาของตน เป็นการหย่าไปในเชิงแล้วก็ไม่ร่วมสังฆวาส กับนางในขณะเดียวกันนางไม่มีสิทธิ์ หลุดพ้นจากการเป็นภรรยาโดยแท้จริงไปได้ นางต้องเป็นภรรยาในนามถูกทรมานและจำบ้าน อยู่เช่นนี้ อิสลามได้เลิกระบอบนี้โดยสิ้นเชิง การถือศีลอดประเภทนี้จึงมีในสมัยโน้นเท่านั้น (ดูการหย่า) ถือศีลอดลบล้างความผิดเป็นเวลา 3 วันติดๆ กันเมื่อผู้หนึ่งผู้ใดสาบาน ที่จะไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ถูกต้องและชอบธรรมในกรณีที่ผู้นั้นไม่สามารถ ปล่อยทาสให้เป็นอิสระหรือเลี้ยงคนยากจนถึง 10 คน ได้ " อัลลอฮฺไม่ทรงยึดเอาตามคำไร้สาระ (ไม่เจตนา)ในการสาบานของสูเจ้าแต่อัลลอฮฺทรงยึดเอาจากสูเจ้า ที่สูเจ้าได้ผูกพันธะสาบานไว้ (โดยเจตนา) ถึงการไถ่โทษ ของเขาคือการให้อาหารคนขัดสนสิบคน ตามปริมาณเฉลี่ยที่สูเจ้าให้อาหารแกครอบครัวของสูเจ้า หรือให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา (สิบคน) หรือการปล่อยทาส หนึ่งคนถ้าผู้ใดหาไม่พบไม่มีความสามารถ ที่จะปฏิบัติตาม นั้นได้ เขาต้องถือศีลอดสามวัน นี้คือ การไถ่โทษคำสาบานของสูเจ้า เมื่อสูเจ้าได้สาบาน " ( อัลกุรอาน 5:89) ถือศีลอดลบล้างความผิดตามคำพิพากษาของผู้เที่ยงธรรม 2 คน เมื่อผู้นั้นล่าสัตว์ ขณะที่กำลังอยู่ ในระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ ในเงื่อนไขที่ว่าผู้นั้นไม่สามารถให้อาหารแก่คนยากคนจนได้ " บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ยจงอย่าฆ่าด้วยการล่าสัตว์ป่าขณะที่สูเจ้ายังครองเอียะห์ราม และผู้ใดในหมู่สูเจ้า ฆ่ามันโดยเจตนา การชดเชยของมันคือเยี่ยงที่เขาฆ่า จากปศุสัตว์ตามที่ผู้เที่ยงธรรมสองคนจากหมู่สู เป็นสิ่งพลีให้นำยังอัลกะอบะฮ เพื่อเชือดและแจกจ่ายคนจน หรือการไถ่โทษ เจ้าตัดสินนั้นเขาต้องให้อาหารแก่คนขัดสน หรือเยี่ยงนั้นด้วยการถือศีลอด " ( อัลกุรอาน 5:89)
          4. การถือศีลอดโดยอาสา ในหลักการทั้ง 4 ของอิสลามคือ การดำรงนมาซ (การละหมาด) ซะกาต (การบริจาค) การถือศีลอดไปประกอบพิธีฮัจญ์นั้น มีทั้งที่เป็นการบังคับ (ฟัรฎู) และทั้งที่อนุญาตให้กระทำโดยอาสา (นัฟล) แต่ในการถือศีลอดโดยอาสานั้น มีข้อห้ามอยู่บ้างบางประการ ดังรายงานต่อไปนี้ "ท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านรสูลอูลลอฮฺ 
ทราบว่าฉันจะตกลงใจถือศีลอด ในเวลากลางวันและตื่นในเวลากลางคืนตราบเท่าที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ (เมื่อถูกสอบถามฉันรับว่าฉัน ได้กล่าวเช่นนั้นจริงท่านรสูลอูลลอฮฺกล่าวว่าท่านจะทนเช่นนี้ไม่ได้)
ภาพการละศีลอดร่วมกัน
อาหารเลี้ยงการละศีลอดขนมหวาน
อาหารสำหรับการละศีลอดร่วมกัน โดยมีขนมหวาน(ภาพทางซ้าย) ละศีลอดด้วยอินทผาลัม
การละศีลอดร่วมกัน 
การละศีลอดร่วมกันของมุสลิมีน (ผู้ชาย)
ภาพการละศีลอดร่วมกัน
 
การฟังบรรยายธรรมก่อนกิจกรรมการละศีลอดร่วมกัน
การละศีลอดร่วมกันของมุสลิมะห์ (ผู้หญิง)


การละหมาด

การละหมาด
           การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู   ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า
" และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยับยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม "
อัล - อังกะบูต : 45
           การละหมาดฟัรฏู อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาด วันละ 5 เวลา คือ
1. ละหมาดศุบหฺ      มี 2 ร็อกอะฮฺ       เวลา เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
2. ละหมาด ซุฮฺริ      มี 4 ร็อกอะฮฺ      เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเท่าตัว
3. ละหมาดอัศรฺ       มี 4 ร็อกอะฮฺ      เวลา เริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยาวกว่าเท่าตัวของมันเอง จนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน
4. ละหมาดมักริบ     มี 3 ร็อกอะฮฺ       เวลา เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์ คือเวลาพลบค่ำ
5. ละหมาดอิชาอฺ      มี 4 ร็อกอะฮฺ       เวลา เริ่มตั้งแต่เวลาค่ำจนถึงก่อนฟ้าสาง
   คุณสมบัติของผู้ที่ต้องละหมาด 

            1. เป็นมุสลิม

            2. บรรลุศาสนภาวะ

            3. มีสติสัมปชัญญะ

            4. ปราศจากหัยฎฺ นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ
 ความสำคัญ
          ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนต้องปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดเพราะ การละหมาดเป็นศาสนกิจเพื่อเข้าเฝ้าต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮ (ซุบฮาฯ) ด้วยความสงบ สำรวม จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน วันละ ๕ เวลาตลอดไป

 พิธีกรรม
          ในการละหมาดนั้นจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ การละหมาดฟัรดูทั้ง ๕ เวลาคือ ซุบฮิ ดุฮรี อัสริ มักริบ และอีซา ซึ่งมีจำนวนรอกาอัตที่แตกต่างกันคือ ๒, ๔, ๔, ๓และ ๔ รอกาอัต ในรอกาอัตหนึ่ง ๆ    ประกอบด้วยท่ายืน ท่าก้มโค้ง (รูกูอ) ท่าก้มกราบ(สุญูด) และท่านั่ง ด้วยความสงบสำรวม การก้มกราบ (สุญูด) มุสลิมจะก้มกราบได้เฉพาะกับพระเจ้าอัลลอฮ (ซุบฮาฯ)องค์เดียวเท่านั้น เวลาละหมาดให้หันหน้าไปทางกิบละอ ซึ่งกิบละอของไทยอยู่ทางทิศตะวันตก สำหรับการละหมาดญุมอะฮ หรือชาวไทยมุสลิมเรียกว่า "ละหมาดวันศุกร์" เป็นละหมาดฟีรดูจำเป็นหรือบังคับสำหรับผู้ชายที่จะต้องไปละหมาดรวมกันโดยมีอิหม่ามเป็นผู้นำละหมาด ซึ่งมีจำนวน ๒ รอกาอัด หลังจากการกล่าวคุฎบะฮ (คำอบรมของอิหม่าม) สถานที่ควรเป็นมัสยิด หากบริเวณนั้นไม่มีมัสยิดก็ให้รวมกันเพื่อการละหมาดในสถานที่ที่สะอาด โดยให้มีผู้ทำหน้าที่ มุอัซซิน กล่าวคุฎบะฮและนำละหมาด
 เงื่อนไขของการละหมาด
          นอกจากมีกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ผู้ละหมาดยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขของการละหมาดอีก 8 ประการ คือ
1. ต้องปราศจากหะดัษใหญ่และหะดัษเล็ก คือ ต้องไม่มีญะนาบะฮฺ หัยฎู นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ และต้องมีน้ำละหมาด
2. ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม และสถานที่ละหมาด ต้องสะอาด
3. ต้องปกปิดเอาเราะฮฺ กล่าวคือ ผู้ชายต้องปิดตั้งแต่สะดือถึงหัวหัวเข่า ผู้หญิงจะต้องปกปิดทั่วร่างกาย     ยกเว้นมือและใบหน้า
4. ต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ
5. ต้องรู้ว่าได้เวลาละหมาดแล้ว
6. ต้องรับว่ามุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติการละหมาด
7. ต้องไม่ตั้งใจเปลี่ยนการละหมาดเป็นอย่างอื่น
8. ต้องห่างไกลจากสิ่งที่ทำให้เสียละหมาด

 ช่วงเวลา
          การละหมาดเป็นการประกอบศาสนกิจที่สำคัญยิ่งสำหรับมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง และตามเวลาในแต่ละวัน โดยแบ่งประเภทของการละหมาดออกเป็น ๒ ประเภท คือ การละหมาดฟัรดู และการละหมาดสุหนัต การละหมาดฟัรดูเป็นการละหมาดที่บังคับหรือจำเป็นต้องปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติจะต้องได้รับการลงโทษ โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือฟัรดูอิน เป็นละหมาดที่บังคับต้องปฏิบัติโดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นเฉพาะตน วันละ ๕ เวลา สำหรับผู้ชายจะต้องละหมาดญุมอะฮหรือละหมาดวันศุกร์ อีกส่วนหนึ่งคือ ฟัรดูกิฟายะฮู เป็นละหมาดที่บังคับต้องปฏิบัติแต่มีเงื่อนไขในการปฏิบัติตามสถานการณ์ คือหากมีผู้ปฏิบัติอยู่บ้างแล้วจะไม่เป็นบาปแก่คนทั้งหมด เช่น ละหมาดวันอีด (คือการละหมาดในวันอิดิลฟิตรี และอิดิลอัฎฮา) ละหมาดญะนาซะฮ (ละหมาดคนตาย) ส่วนการละหมาดสุหนัตเป็นการละหมาดเนื่องในเวลาและโอกาสต่างๆนอกเหนือจากการละหมาดฟัรดู

ประวัติท่านนบีอาดัม

นบีอาดัม อะลัยฮิสสลาม

             ก่อนที่โลกนี้จะมีมนุษย์ ในสวนสวรรค์อันเป็นส่วนหนึ่งแห่งอาณาจักรของอัลลอฮฺ ( ซ.บ. )วันหนึ่ง อัลลอฮฺ ( ซ.บ. )ได้ทรงกล่าวแก่บรรดามลาอิกะฮฺ ซึ่งเป็นบริวารรับใช้พระองค์ว่า “ ฉันจะสร้างตัวแทน ( เคาะลีฟะฮ ฺ) คนหนึ่งขึ้นมาบนหน้าแผ่นดิน ”
             มลาอิก๊ะฮฺได้ถามว่า “ พระองค์จะทรงสร้างผู้ก่อความเสียหายและผู้หลั่งเลือดขึ้
นมาในหน้าแผ่นดินกระนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่พวกเราทั้งหลายก็แซ่ซ้องสรรเสริญ และสดุดีความบริสุทธิ์ของพระองค์อยู่ตลอดเวลาแล้ว ? ”

อัลลอฮฺ จึงได้ทรงกล่าวว่า “ ฉันรู้ในสิ่งที่พวกเจ้าทั้งหลายไม่รู้ ”
หลังจากนั้น อัลลอฮฺได้ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากดินตามที่พระองค์ได้ทรงกล่าวไว้ และพระองค์ได้ทรงเป่า
วิญญาณของพระองค์เข้าไปในดินที่พระองค์ทรงใช้สร้างมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์คนแรกจึงเกิดขึ้นมีนามว่า อาดัม  หลังจากนั้น อัลลอฮฺ ( ซ.บ.)ก็ได้ทรงสร้างคู่ครองให้แก่อาดัมซึ่งมีนามว่า ฮาวา
เมื่ออาดัมถูกทำให้มีชีวิตขึ้นมาแล้ว อัลลอฮฺได้ทรงสอนอาดัมให้รู้ชื่อของทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นต่อการมีชีวิต และต่อการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินตามที่พระองค์ทรงเจตนา อาดัมจึงมีความรู้มากมาย หลังจากนั้นอัลลอฮฺได้ทรงหันไปยังมลาอิก๊ะฮฺ และกล่าวว่า “ทีนี้พวกเจ้าจงบอกถึงชื่อของสิ่งต่าง ๆ ให้เราได้รู้หน่อยซิ ถ้าหากว่าพวกเจ้าแน่จริง "
มลาอิกะฮฺ จึงตอบว่า “ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ เราไม่มีความรู้ใด ๆ เว้นแต่เท่าที่พระองค์ทรงสอนพวกเราเท่านั้น แท้จริงแล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาสามารถ ”

อัลลอฮฺ ( ซ.บ. ) จึงได้ทรงมีบัญชาแก่อาดัมว่า “ อาดัมเอ๋ย ทีนี้เจ้าจงบอกชื่อของสิ่งเหล่านี้ให้แก่พวกเขาซิ ”
                 เมื่ออาดัมบอกชื่อของสิ่งที่อัลลอฮฺได้มีบัญชาแล้ว พระองค์ได้ทรงกล่าวว่า “ฉันมิได้บอกสูเจ้าหรือว่าฉันรู้เรื่องสิ่งเร้นลับของชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินดียิ่งกว่าใคร และรู้ดีถึงสิ่งที่เจ้าเปิดเผยและที่เจ้าปิดบัง ”
หลังจากนั้น อัลลอฮฺ ( ซ.บ. ) ทรงหันไปยังมลาอิก๊ะฮฺ และมีบัญชาว่า “ พวกเจ้าทั้งหลายจงกราบอาดัม ”
มลาอิกะฮฺทั้งหมดทำตามที่อัลลอฮฺบัญชาแต่โดยดี ยกเว้นอิบลีสซึ่งไม่ยอมทำตามบัญชาของพระองค์
อัลลอฮฺ ( ซ.บ. ) จึงทรงถามว่า “ อิบลีส อะไรที่ทำให้สูเจ้าไม่ยอมกราบอาดัมที่ฉันสร้างมากับมือทั้งสองของฉัน เจ้าหยิ่งทะนง หรือสูเจ้าคิดว่าตัวเองสูงส่ง ? ”
อิบลีส จึงตอบว่า “ ฉันดีกว่าเขา พระองค์ทรงสร้างฉันมาจากไฟ แต่พระองค์ทรงสร้างเขามาจากดิน พระองค์จะให้ฉันกราบผู้ที่ถูกสร้างมาจากดินกระนั้นหรือ ? ”
เมื่อได้ยินเช่นนั้น อัลลอฮฺจึงทรงมีบัญชาว่า “ ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงออกไปจากสวนสวรรค์ และเจ้าไม่มีสิทธิ์อะไรที่จะมาเป็นผู้โอหังในสถานที่แห่งนี้ ดังนั้นเจ้าจงออกไปเสียจากที่นี่ แท้จริงแล้วเจ้าจะเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ถูกสาปแช่งและผู้ได้รับความอัปยศ ฉันจะสาปแช่งเจ้าไปจนกระทั่งวันแห่งการพิพากษา ”
พอรู้ว่าอัลลอฮฺ ( ซ.บ. ) ทรงกริ้ว อิบลีสจึงได้วิงวอนขอต่อพระองค์ว่า “ โอ้พระเจ้าของฉัน ขอพระองค์ได้ทรงผ่อนผันเวลาให้แก่ฉันไปจนกระทั่งวันที่มนุษย์ถูกทำให้ฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่งด้วยเถิด ”
“ ก็ได้ ฉันจะผ่อนผันเวลาให้แก่เจ้าจนถึงวันที่ได้ถูกนัดหมายไว้ ” อัลลอฮ ฺ( ซ.บ. ) ได้ตอบแก่มัน
อิบลีส จึงกล่าวว่า “ โอ้ผู้ทรงมหากรุณาธิคุณ คอยดูเถิด ฉันจะหลอกลวงลูกหลานทั้งหมดของอาดัม ยกเว้นบ่าวของพระองค์บางคนซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ ”
อัลลอฮฺ ( ซ.บ. )  จึงได้ทรงกล่าวว่า “ จำไว้ นี่คือความจริง และฉันพูดจริง คอยดู ฉันจะทำให้นรกเต็มไปด้วยพวกเจ้า และบรรดามนุษย์ที่ปฏิบัติตามเจ้า ”
อิบลีส กล่าวว่า “ ก็เพราะพระองค์ทรงทำให้ฉันหลงผิด ดังนั้นฉันสาบานว่า ฉันจะนั่งซุ่มคอยพวกเขาตามทางที่เที่ยงตรงของพระองค์ แล้วฉันจะจู่โจมพวกเขาจากทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านหลัง ด้านขวาหรือด้านซ้าย แล้วพระองค์ จะพบว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาเป็นผู้ไม่กตัญญู ”
“ เอาเถิด แต่เจ้าจะไม่มีอำนาจเหนือบ่าวของฉันบางคนที่ฉันจะคุ้มครองเขาไป เจ้าออกไปจากที่นี่ได้แล้ว นรกจะเป็นรางวัลสำหรับเจ้าและผู้ที่ตามเจ้า ” อัลลอฮฺ ( ซ.บ. ) ทรงกล่าวกับอิบลีส
หลังจากนั้น อัลลอฮฺ ( ซ.บ. ) ได้ทรงหันไปหาอาดัมและฮาวา และกล่าวว่า “ อาดัมเอ๋ย อิบลีสคือศัตรูของเจ้าและภรรยาของเจ้า ดังนั้น จงอย่าปล่อยให้มันทำให้เจ้าทั้งสองต้องถูกขับไล่ออกจากสวนสวรรค์ และต้องพบกับความทุกข์ยากลำบาก เพราะในสวนสวรรค์มีสิ่งที่ทำให้เจ้าไม่ต้องหิวโหยไม่ต้องเปลือยกาย ไม่ต้องกระหายน้ำและไม่ต้องตากแดด เจ้ากับคู่ครองของเจ้าจงอยู่ในสวนสวรรค์แห่งนี้ตามสบาย เจ้าทั้งสองจะกินอะไรก็ได้ตามใจเจ้า แต่จงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนี้ มิเช่นนั้นแล้ว เจ้าจะเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ทำผิด ”
อาดัมและฮาวาอยู่กินในสวนสวรรค์อย่างมีความสุขมาเป็นเวลานาน แล้ววันหนึ่ง มารร้ายอิบลีสก็ได้ใช้วิธีการกระซิบในหัวใจของอาดัมและฮาวา เพื่อที่มันจะเปิดเผยสิ่งพึงละอายที่คนทั้งสองปิดบังไว้ต่อกัน มันได้กล่าวแก่คนทั้งสองว่า “ พระเจ้าของท่านทั้งสองห้ามท่านมิให้เข้าใกล้ต้นไม้นี้ ก็เพราะพระองค์ทรงเกรงว่าท่านทั้งสองจะกลายเป็นมลาอิกะฮฺ หรือท่านทั้งสองจะกลายเป็นผู้มีชีวิตนิรันดร์ เชื่อฉันเถอะ ฉันหวังดีต่อท่านทั้งสองจริง ๆ เอาไหม ฉันจะนำเจ้าไปยังต้นไม้ที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ ? ”
อาดัมและฮาวาหลงเชื่อคำล่อลวงของอิบลีส ดังนั้น ทั้งสองจึงลองเข้าใกล้ต้นไม้ที่อัลลอฮฺได้ทรงสั่งห้ามไว้และลองลิ้มรสผลไม้ ทันใดนั้นสิ่งพึงละอายของคนทั้งสองก็ถูกเปิดเผยต่อกัน อาดัมและฮาวาต่างรีบหาใบไม้ใกล้ ๆ นั้นมาปกปิดสิ่งพึงสงวนของตัวเองให้พ้นจากความละอาย
หลังจากนั้น อัลลอฮฺ ( ซ.บ. ) ได้ทรงเรียกอาดัมและฮาวาออกมา และทรงกล่าวว่า “ ฉันมิได้ห้ามเจ้าทั้งสองเข้าใกล้ต้นไม้นี้และเตือนเจ้าทั้งสองว่ามารร้ายเป็นศัตรูที่ชัดเจนของเจ้ากระนั้นหรือ ? ”

               ทั้งสองจึงกล่าวว่า “ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา เรากระทำความผิดต่อตัวเราเองไปแล้ว ถ้าหากพระองค์ไม่ทรงให้อภัยแก่เราและทรงเมตตาต่อเราแล้ว เราจะต้องเป็นผู้หายนะอย่างแน่นอน ”
เมื่ออาดัมสำนึกผิด พระองค์จึงทรงรับการสำนึกผิดของเขา เพราะพระองค์คือผู้ทรงให้อภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ
              หลังจากนั้น อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวแก่ทั้งสองว่า “ จงลงไปจากที่นี่เสีย เจ้ากับอิบลีสจะเป็นศัตรูต่อกันและกัน แผ่นดินจะเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับเจ้าชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเจ้าจะได้รับปัจจัยยังชีพต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ณ ที่นั้น เจ้าจะมีชีวิต และ ณ ที่นั้น เจ้าจะตาย และ ณ ที่นั้นอีกเช่นกันที่เจ้าจะถูกนำออกมา หลังจากนี้แล้ว ถ้ามีแนวทางจากฉันมายังเจ้า แล้วผู้ใดปฏิบัติตามแนวทางของฉัน พวกเขาก็จะไม่ต้องหวาดกลัว แต่ผู้ใดปฏิเสธแนวทางของฉันแล้ว พวกเขาก็จะได้อยู่ในนรก ”
หลังจากที่ลงมาอยู่บนโลกแห่งนี้แล้ว อาดัมและฮาวาก็มีลูกหลานมากมายแพร่ขยายไปยังทุกส่วนของโลก และทั้งสองก็ได้กลายเป็นต้นตระกูลของมนุษย์ชาติทุกเผ่าพันธุ์มาจนทุกวันนี้ และตราบใดที่ยังไม่ถึงวันสิ้นโลก ลูกหลานของท่านก็ยังคงถูกอิบลีสมารร้ายล่อลวงอยู่ ดังนั้นหลังจากสมัยของอาดัม อัลลอฮฺจึงได้ส่งนบีต่าง ๆ มายังลูกหลานทุกกลุ่มของอาดัมให้มาบอกถึงวิธีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันตัวเองมิให้ถูกมารร้ายชัยฎอนล่อลวงไปลงนรก